Wednesday, December 10, 2014


บทความ 5  บทความ


สร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ด้วยการปรับพฤติกรรมพ่อแม่


ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีข้อมูลต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆการจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกกลมๆ ใบนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่หากเราได้เรียนรู้ในทุกสิ่งที่เราต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
ดังนั้นในการเรียนการสอนสำหรับเด็กยุคใหม่ จำเป็นต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้และสอนให้คิดเป็น
เพื่อเด็กทุกคนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการสิ่งใดตามแต่ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปของชีวิต และวิธีการสำคัญในการแสวงหาไม่ว่ายุคสมัยใดเริ่มต้นจาก "การอ่าน"
แต่ทว่าสภาพสังคมในยุคที่พ่อแม่มุ่งผลิตเม็ดเงินจนไม่มีเวลาให้กับลูก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพ่อแม่ที่อ่านนิทานให้ลูกฟังมีอัตราน้อยกว่าพ่อแม่ที่เปิดทีวีให้ลูกดู ทั้งที่การดูทีวีไม่ช่วยให้สมองเจริญเติบโตแถมยังอาจลดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทบางตัวที่ไม่ได้ใช้ในระหว่างการดูทีวีด้วย
สถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก ได้สำรวจสถานการณ์การอ่านของเด็กไทย จำนวน 2,626 คน จาก 165 โรงเรียน เมื่อปีการศึกษา 2544 พบว่า มีเด็กที่ไม่อ่านหนังสือทุกวัน 69.36% มีโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการอ่านได้ต่อเนื่อง 42.07% ส่วนครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดกว่า 91.03%ก็ไม่ได้จบวิชาบรรณารักษ์โดยตรง และกว่า 77.24%ก็ไม่เคยเข้าอบรมการจัดกิจกรรมห้องสมุดจากต้นสังกัดเลย
นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการสถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก กล่าวว่าการที่โรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีสถานที่สำหรับจัดเป็นห้องสมุดผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ครูที่ดูแลห้องสมุดต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจึงไม่มีเวลาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอ่านในโรงเรียนให้มีคุณภาพที่สำคัญขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณจัดซื้อหนังสือทำให้เด็กไทยขาดนิสัยรักการอ่าน ทั้งที่ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ช่วงปฐมวัย
การปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งทำ ที่สำคัญต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
สมองมนุษย์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ดังนั้นการฝึกนิสัยรักการอ่านจึงจำเป็นต้องพัฒนากันตั้งแต่วัยทารก เท่ากับว่าครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่าน ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและอบอวลด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่กระตุ้นเร้าให้เด็กสนใจ
อย่างไรก็ดี ยังมีพ่อแม่บางคนที่จ้องให้ลูกอ่านแต่ตำราเรียน ห้ามยุ่งเกี่ยวกับหนังสือประเภทบันเทิง นิทาน นิยาย วรรณกรรมจนเด็กเกิดความหวาดกลัวว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องไม่ควรทำซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในสิ่งรอบตัว และทำให้เด็กขาดการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และรู้จักการเปรียบเทียบหนังสือหลากหลายประเภท ไม่สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ดีด้วยตัวเองได้
นอกจากนี้บทบาทของหนังสือสามารถมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต ครอบครัวชุมชน และสังคม เช่น การหาความรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพหรือนำมาเป็นอาชีพเสริมหารายได้เพิ่มเติม หรือเติมเต็มสำหรับเด็กที่ขาดความอบอุ่น โดยให้หนังสือเป็นเพื่อนสร้างจินตนาการ คลายเครียด ใช้ลดทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบ เช่น หนังสือนิทาน


ส่งลูกไปโรงเรียนอย่างมั่นใจ


ภาพการไปโรงเรียนครั้งแรกของเด็กอนุบาล มักไม่น่ารักเท่าไหร่ ก็แหม...นี่เป็นครั้งแรกที่พวกหนู ๆ จะต้องออกเผชิญโลกภายนอกตามลำพังนี่นะ จากที่เคยอยู่ที่บ้าน มีคุณพ่อคุณแม่พี่เลี้ยงดูแล จู่ๆ จะให้ไปอยู่ที่โรงเรียนกับคนแปลกหน้าอย่างคุณครูและเพื่อน ๆ ก็ต้องใช้เวลาปรับตัวเป็นธรรมดา

            แล้วจะมีวิธีไหนที่ทำให้เจ้าตัวเล็กคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนได้เร็ว ๆ ได้บ้างนะ

ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียน

            วิธีแรกที่ควรทำคือการค่อยๆ อธิบายให้ลูกได้รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างพี่ๆ ที่โตแล้ว เรื่องนี้ถ้าบ้านไหนมีพี่ ๆ ที่เป็นเด็กวัยเรียนอยู่ด้วยแล้วก็ไม่ยาก เจ้าหนูจะเข้าใจได้จากภาพที่เห็นว่าพี่ ๆ ไปโรงเรียนตอนเช้า เดี๋ยวพอเย็นก็ได้กลับบ้าน การไปโรงเรียน ไม่ใช่การพรากจากแม่ตลอดไป ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแบบนั้น

            แต่ถ้าไม่มีตัวอย่างให้ลูกดูชัด ๆ ขนาดนั้น ก็ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียนของตัวเอง โดยนำเอกสารของโรงเรียนต่าง ๆ มาให้ลูกดู ซึ่งในเอกสารเหล่านั้นมักมีภาพเด็กนักเรียนในอิริยาบถที่ร่าเริง แจ่มใสอยู่ ลองชี้ชวนให้ลูกดูภาพเหล่านั้น และกระตุ้นให้ลูกอยากร่วมกิจกรรมที่เห็นในภาพ ถามเขาบ่อย ๆ ว่าอยากไปที่โรงเรียนนี้มั้ย อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ แบบนี้มั้ย ลูกชอบภาพโรงเรียนไหน ไปเที่ยวโรงเรียนกันมั้ย

เสริมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน

            จากนั้นบอกลูกบ่อย ๆ ว่าเขาโตแล้วต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างที่คุณแม่คุณพ่อต้องไปทำงาน มีแต่เด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องเท่านั้นที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ลูกจะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ โดยคุณแม่อาจใช้ช่วงเวลาพูดคุยเรื่องนี้ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ขณะเล่านิทาน วาดรูประบายสี ควรบอกเขาว่า เขาจะได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ อย่างนี้ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งจะสนุกกว่าการเล่นกันอยู่ที่บ้านแค่สองคนแม่ลูก

สร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้

            การสร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ คุณอาจฝึกให้ลูกรู้สึกสนุกกับการไปโรงเรียน ด้วยการเล่นสมมุติเป็นครู นักเรียนฝึกอ่าน ก ไก่ ข ไข่ ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาได้มีพื้นฐานการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความอยากเข้าไปสัมผัสบรรยากาศห้องเรียนจริง ๆ ได้เป็นอย่างดี

กระตุ้นความอยากไปโรงเรียน

            เด็ก ๆ จะรู้สึกอยากและรอคอยวันที่จะไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าคุณเอาของต่าง ๆ ที่เขาจะต้องใช้ไปโรงเรียนมาให้ดูบ่อย ๆ อย่างชุดนักเรียน กระเป๋าเป้ สมุด หนังสือ ดินสอสี เด็กบางคนถึงกับซ้อมจัดกระเป๋าหนังสือ หรือแต่งชุดนักเรียนได้ทุกวันเชียวค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกรบเร้าขอแต่งชุดนักเรียนเล่นอยู่กับบ้านในช่วงก่อนเปิดเทอม ก็ไม่ควรห้ามค่ะ

หนูทำได้...ไม่ต้องห่วง

            ก่อนเปิดเทอมคุณแม่ควรใช้เวลาช่วงนี้ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กวัยอนุบาลไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างเต็มที่ในบางเรื่อง

            ดังนั้นควรฝึกลูกให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การแต่งตัว การสวมรองเท้า การรับประทานอาหาร เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีใครคอยป้อนอาหารหรือแต่งตัวให้อย่างที่บ้าน ถ้าเขาไม่ได้รับการฝึกเรื่องเหล่านี้ไว้ พอถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ ก็จะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจ เต็มไปด้วยสิ่งที่เขาทำไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่ได้ฝึกลูกไว้แล้วล่ะก็สบายใจได้เลยค่ะว่า เขาจะไปโรงเรียนได้อย่างมั่นใจ และภูมิใจที่ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง อย่างเด็กใด ๆ

เอาของรักไปเรียนด้วย

            สำหรับเด็กอนุบาลแล้ว เหตุผลหลักเลยที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนคือ ไม่อยากจากคุณแม่หรือพี่เลี้ยง เรื่องนี้คุณแม่ควรทำความเข้าใจและบอกลูกว่า หนูแค่ไปโรงเรียนในตอนเช้าเดี๋ยวบ่าย ๆ ก็ได้กลับบ้านแล้ว และเพื่อความสบายใจของเขา คุณแม่อาจให้เขานำตัวแทนคุณแม่ หรือของรักของเขา เช่น ตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ หรือแผ่นซีดีการ์ตูนเรื่องโปรด ไปโรงเรียนด้วยก็ได้ โดยตุ๊กตาจะช่วยเป็นตัวแทนของคุณแม่ หรือแผ่นซีดีที่นำติดตัวไปจะเป็นเหมือนเครื่องเตือนว่า อีกเดี๋ยวเขาก็จะได้กลับบ้านเปิดซีดีดูพร้อม ๆ กับคุณแม่แล้วล่ะ เขาไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนตลอดไปสักหน่อย

เตรียมรับความป่วน

            ถึงจะเตรียมความพร้อมให้ลูกไว้ดีขนาดไหน แต่เมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ เขาก็อาจจะโยเยขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องเตรียมใจรับสถานการณ์ เอาไว้ เช่น อย่ายอมให้ลูกหยุดเรียนโดยไม่มีเหตุผล เพราะถ้ามีครั้งแรกแล้ว ย่อมมีครั้งต่อ ๆ ไม่ตามมาแน่นอน ไม่ควรแสดงท่าทีตกใจ หรือกังวลเกินเหตุเมื่อลูกบอกว่าปวดหัว หรือปวดท้อง ในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ไม่ควรไปส่งลูกด้วยด้วยตัวเอง ถ้าปกติเขาขึ้นรถโรงเรียน และอย่าเอาของขวัญ รางวัลมาล่อ ถ้าต้องการทำเช่นนั้น ควรใช้การสะสมคะแนน เช่น ถ้าเขาไปโรงเรียนทุกวัน โดยไม่ร้องงอแงครบหนึ่งสัปดาห์จึงจะได้รางวัล

            คุณอาจเห็นว่าการเรียนระดับอนุบาล ไม่ใช่เรื่องซีเรียสมากนัก น่าจะยอมให้ลูกหยุดได้บ้าง แต่การฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนนั้น ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญค่ะ หากยอมตามใจให้ลูกหยุดเรียน ไปบ้างไม่ไปบ้างแล้วล่ะก็ เชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบปัญหานี้ไปเรื่อย ๆ และการแก้ไขก็จะทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

เคล็ดลับเลือกโรงเรียนให้ลูก

        ก่อนอื่นมองหาโรงเรียนใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานคุณพ่อคุณแม่เอาไว้ก่อน เพื่อความสะดวกในการรับ-ส่ง และลูกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป

        จากนั้นนำข้อมูลของโรงเรียนต่าง ๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ ทั้งเรื่องมาตรฐานของโรงเรียน หลักสูตรการศึกษา กิจกรรม และค่าใช้จ่าย

        สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน จากผู้ปกครองที่มีลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนที่คุณสนใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ

        ข้าไปสำรวจสภาพแวดล้อมโรงเรียนด้วยตัวเอง ว่ามีความสะอาอดปลอดภัย มีอุปกรณ์การเรียนเครื่องเล่นพร้อมมากแค่ไหน ถือโอกาสนี้พูดคุยกับคุณครู ถามถึงทัศนคติของคุณครูที่มีต่อเด็ก




ด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง เลียนแบบการใช้คำ ซึ่งนำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
       การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้       อายุ ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ  ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง       อายุ ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์  ยานพาหนะ  เครื่องใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์  รถไฟ        อายุ ขวบ  ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้       อายุ ขวบ  ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น       อายุ ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป


ผลของเด็กที่เกิดจากการดูทีวี




ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า หากให้เด็กอายุ 3 ขวบดูโทรทัศน์มากเท่าไรอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นคนก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดู

เจน นิเฟอร์ แมนกาเนลโล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่อัลบานีร่วมกับคณะสาธารณสุขและเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยทูเลน ศึกษากับสตรี 3,128 คน ใน 20 เมืองที่มีลูกช่วงปี 2541-2543 ระดับการศึกษาหลากหลายแต่ 1 ใน 3 เรียนไม่จบระดับมัธยมศึกษา สตรี 2 ใน 3 เผยว่าให้ลูกวัย 3 ขวบดูโทรทัศน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3 ชั่วโมง สตรีส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง และเมื่อนำปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง มีมารดาเป็นโรคซึมเศร้า มาคำนวณร่วมด้วยพบว่า การดูโทรทัศน์และจำนวนชั่วโมงที่เปิดโทรทัศน์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชอบตีคนอื่น อารมณ์ร้าย ไม่เชื่อฟัง กรีดร้องบ่อย ๆ

คณะ นักวิจัยระบุว่า เด็กอาจเห็นภาพความรุนแรงจากโทรทัศน์ และการใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอมากเท่าไรเท่ากับว่าเด็กมีเวลาทำกิจกรรมสร้าง สรรค์เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นน้อยลงเท่านั้น จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาของรายการโทรทัศน์และสิ่งที่ เกิดขึ้นภายในบ้านในช่วงที่เปิดโทรทัศน์ พร้อมกับหยิบยกคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชอเมริกันไว้ในรายงานด้วยว่าไม่ ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์เลย ส่วนเด็กที่โตกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์เกินวันละ 2 ชั่วโมง



พับลิชเชอส์วีคลี รายงานผลวิจัยเรื่องการอ่านของเด็กและครอบครัว (อ่านฉบับ pdf) โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักพิมพ์สกอแลสติค สำรวจการอ่านเพื่อความบันเทิงของเด็กอเมริกันวัย 5-17 ปี พบว่าเด็กร้อยละ 92 สนุกกับการอ่านหนังสือเพื่อความบันเทิง (นั่นคือไม่นับพวกหนังสือเรียน) แต่เด็กจะอ่านน้อยลงมากเมื่ออายุเกิน 8 ปี และยิ่งอายุมากขึ้นสู่วัยรุ่นเท่าใด ก็ยิ่งอ่านน้อยลงเท่านั้น
โดยรวมแล้วเด็กร้อยละ 30 อ่านหนังสือเป็นประจำ เด็กวัย 5-8 ปีร้อยละ 44 อ่านหนังสือเป็นประจำ แต่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-17 ปีนั้น มีเพียงร้อยละ 16 ที่อ่านหนังสือเป็นประจำ ส่วนร้อยละ 46 อ่านนานๆ ครั้ง (เป็นประจำคืออ่านทุกวัน นานๆ ครั้งคืออ่านเดือนละไม่เกิน 2-3 ครั้ง)
ผลการศึกษาพบว่าที่อัตราการอ่านลดลงมากเมื่อวัยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ปกครองไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดี มีพ่อแม่เพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่อ่านหนังสือเป็นประจำ
ลูกของพ่อแม่ที่อ่านหนังสือเป็นประจำจะชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ (คิดเป็นร้อยละ 53) เมื่อเทียบกับลูกของพ่อแม่ที่อ่านนานๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่จะอ่านหนังสือเป็นประจำ
สำนักพิมพ์แนะนำว่าถึงพ่อแม่จะไม่ค่อยอ่านหนังสือ ก็ควรสนับสนุนให้ลูกรักการอ่านโดยอ่านหนังสือให้ลูกฟัง อย่าเพิ่งหยุดอ่านเมื่อลูกอายุแปดปี เมื่อเด็กโตขึ้นและอ่านได้เองเพิ่มขึ้น พ่อแม่ยิ่งต้องช่วยแนะนำหนังสือให้ลูกอ่าน
เด็กที่อ่านหนังสือเป็นประจำบอกว่าพ่อแม่เป็นผู้แนะนำหนังสือให้อ่านมากเป็นอันดับสอง รองจากบรรณารักษ์และห้องสมุดเท่านั้น (ตามมาด้วยเพื่อน ครู และร้านหนังสือ) ในขณะที่เด็กอ่านหนังสือนานๆ ครั้งบอกว่าได้แนวทางการอ่านมาจากครู เพื่อน บรรณารักษ์ ทีวี และพ่อแม่ ตามลำดับ
การแนะนำหนังสือมีความสำคัญยิ่งต่อการอ่าน เหตุผลข้อหลักที่ทำให้เด็กไม่อ่านหนังสืออีกต่อไป เนื่องมาจากเด็กไม่เจอหนังสือที่ตัวเองชอบ บริษัทผู้สำรวจข้อมูลตั้งข้อสังเกตว่า "พ่อแม่อาจนึกไม่ถึงว่าการที่เด็กๆ จะหาหนังสือที่ตัวเองชอบได้นั้น เป็นเรื่องยากแค่ไหน" เหตุผลข้อรองๆ ลงมาที่ทำให้เด็กไม่อ่านหนังสือคือ มีอย่างอื่นที่อยากทำมากกว่า, มีการบ้านเยอะ, ไม่มีเวลาอ่าน, เหนื่อยเกินไปที่จะอ่าน
ส่วนพ่อแม่นั้นมักเข้าใจว่าเหตุผลข้อหลักที่ลูกไม่อ่านหนังสืออ่านเล่นเป็นเพราะมีการบ้านเยอะ
การศึกษานี้ยังพบว่าเด็กร้อยละ 41 ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการอ่าน โดยแบ่งเป็นอ่านจากคอมพิวเตอร์ 23% จากไอพ็อด 5% เครื่องเล่น MP3 อื่นๆ 2% พีดีเอ (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล) 1% ที่เหลือเป็นอื่นๆ ผลการสำรวจพบว่าเด็กที่อ่านหนังสือโดยใช้เทคโนโลยีมักอยู่ในกลุ่มคนอ่านหนังสือเป็นประจำ (ซึ่งผลสำรวจบอกว่าอาจเป็นเพราะเด็กกลุ่มนี้มีพ่อแม่ที่ผลักดันเรื่องการอ่านมากกว่า)
เร็วๆ นี้ การ์เดียน รายงานผลสำรวจจากสกอแลสติกบุ๊คคลับและบุ๊คแฟร์ ว่าพ่อแม่สมัยนี้เลิกอ่านหนังสือก่อนนอนให้ลูกฟังเร็วขึ้น มีเด็กวัย 12 ปีเพียงร้อยละ 3 ที่บอกว่าพ่อแม่ยังอ่านหนังสือให้ฟังทุกคืนก่อนนอน สำหรับเด็กวัย 7-12 นั้นมีร้อยละ 10 ที่บอกว่าพ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังทุกคืน ครั้นเมื่อไปถามพ่อแม่เด็กวัย 7-12 กลุ่มเดียวกับที่สำรวจ พ่อแม่มากกว่าหนึ่งในสามบอกว่าตัวเองอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน แสดงว่าพ่อแม่มองโลกแง่ดีกว่าที่เป็นจริง (หรือลูกมองโลกแง่ร้ายเกิน?)
เราเริ่มอ่านหนังสือให้เด็กฟังได้ตั้งแต่เขายังเล็กมากๆ ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการของอเมริกาบอกว่าตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี เด็กสามารถเลียนเสียงที่ได้ยิน เริ่มเชื่อมโยงเสียงคำที่ได้ยินกับความหมายของคำ เด็กจำหนังสือจากหน้าปกได้แล้ว ทำท่าทำทางเหมือนกำลังอ่านหนังสือได้ เข้าใจว่าควรถือหนังสืออย่างไร สามารถระบุสิ่งของในหนังสือได้ พูดชื่อตัวละครในหนังสือได้ ดูรูปในหนังสือแล้วรู้ว่าเป็นภาพแทนของที่มีในโลกจริง เด็กฟังเรื่องราวได้ ขอให้ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังได้ เริ่มเขียนเส้นและวาดรูป โลกของเด็กช่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ตั้งแต่เด็กยังแบเบาะ ตั้งแต่ก่อนเด็กจะพูดได้ ให้เด็กได้เห็นและจับต้องหนังสือ
เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีพัฒนาการมากขึ้นตามวัย เด็กเล็กๆ ชอบให้คนอ่านหนังสือให้ฟัง ไม่เบื่อเรื่องซ้ำ ชอบภาษาที่มีสัมผัส พ่อแม่อาจหาข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้จากอินเทอร์เน็ต เช่นเว็บ Reading is Fundamental


1.การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ในนักเรียนระดับชั้

http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/App_Beh_Sci_Res/Nantawat_C.pdf



2.การทดลองใช้ชุดการสอนฝึกฟังสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปฐมวัย / วิไล ทรงกิจเจริญผล.

http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Vilai_S.pdf


3.กระบวนการพัฒนาความคิดรวบยอดทางกายภาพตรรกศาสตร์และสังคมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ดัานสิ่งแวดล้
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Prisana_S.pdf


4.กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ / พรใจ สา
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pornjai_S.pdf


5.กระบวนการพัฒนาการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยโดยการสร้างเรื่องราว ในกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามแนวการสอนภา

http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Panida_C.pdf

Tuesday, December 9, 2014

บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่15

จัดนิทรรศการสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย







ผลงานของทุกของเพื่อนๆ













เดินชมผลงานของเพื่อนๆ






ประโยชน์ที่ได้

ความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน
ได้ความรู้เกียวกับสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้ความคิดสร้างสรรค์
ได้ชมนิทรรศการผลงานของตัวเราและเพื่อนๆ

Tuesday, November 25, 2014

บันทึกการเรียนประจำวันที่  25 เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14



คุณครูสอนวิธีการทำโมบาย
แล้วให้ลงมือทำด้วยตัวเอง










ผลงานที่ได้










Friday, November 21, 2014

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

อาจารย์ให้ดูตัวอย่างสื่อเกมการศึกษา








แบ่งกลุ่มทำสื่อการศึกษาเป็น คู่ เช่น 2 คน 4 คน 6 คน 8คน เป็นต้น





ผลงานที่ได้


บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 11 พศจิกายน 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

อาจารย์สอนวิธีการทำชาร์ตเพลง




อาจารย์ให้ทำสื่อจากเศษวัสดุเหลือใช้



ผลงานที่ได้



บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 4 พศจิกายน 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

1.เรียนการทำสื่อ
2.ดูสื่อที่ใช้ในห้องเรียนอากาศ เป็นต้น
3.สื่อที่ทำจากผัก เช่น หัวหอม เป็นต้น
4.เรียนการทำดอกไม้จัดบอร์ด

รูปประกอบ