บทความ 5 บทความ
สร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ด้วยการปรับพฤติกรรมพ่อแม่
|
ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีข้อมูลต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆการจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกกลมๆ ใบนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่หากเราได้เรียนรู้ในทุกสิ่งที่เราต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
ดังนั้นในการเรียนการสอนสำหรับเด็กยุคใหม่ จำเป็นต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้และสอนให้คิดเป็น
เพื่อเด็กทุกคนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการสิ่งใดตามแต่ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปของชีวิต และวิธีการสำคัญในการแสวงหาไม่ว่ายุคสมัยใดเริ่มต้นจาก "การอ่าน"
เพื่อเด็กทุกคนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการสิ่งใดตามแต่ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปของชีวิต และวิธีการสำคัญในการแสวงหาไม่ว่ายุคสมัยใดเริ่มต้นจาก "การอ่าน"
แต่ทว่าสภาพสังคมในยุคที่พ่อแม่มุ่งผลิตเม็ดเงินจนไม่มีเวลาให้กับลูก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพ่อแม่ที่อ่านนิทานให้ลูกฟังมีอัตราน้อยกว่าพ่อแม่ที่เปิดทีวีให้ลูกดู ทั้งที่การดูทีวีไม่ช่วยให้สมองเจริญเติบโตแถมยังอาจลดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทบางตัวที่ไม่ได้ใช้ในระหว่างการดูทีวีด้วย
สถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก ได้สำรวจสถานการณ์การอ่านของเด็กไทย จำนวน 2,626 คน จาก 165 โรงเรียน เมื่อปีการศึกษา 2544 พบว่า มีเด็กที่ไม่อ่านหนังสือทุกวัน 69.36% มีโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการอ่านได้ต่อเนื่อง 42.07% ส่วนครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดกว่า 91.03%ก็ไม่ได้จบวิชาบรรณารักษ์โดยตรง และกว่า 77.24%ก็ไม่เคยเข้าอบรมการจัดกิจกรรมห้องสมุดจากต้นสังกัดเลย
นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการสถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก กล่าวว่าการที่โรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีสถานที่สำหรับจัดเป็นห้องสมุดผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ครูที่ดูแลห้องสมุดต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจึงไม่มีเวลาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอ่านในโรงเรียนให้มีคุณภาพที่สำคัญขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณจัดซื้อหนังสือทำให้เด็กไทยขาดนิสัยรักการอ่าน ทั้งที่ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ช่วงปฐมวัย
การปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งทำ ที่สำคัญต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
สมองมนุษย์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ดังนั้นการฝึกนิสัยรักการอ่านจึงจำเป็นต้องพัฒนากันตั้งแต่วัยทารก เท่ากับว่าครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่าน ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและอบอวลด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่กระตุ้นเร้าให้เด็กสนใจ
สมองมนุษย์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ดังนั้นการฝึกนิสัยรักการอ่านจึงจำเป็นต้องพัฒนากันตั้งแต่วัยทารก เท่ากับว่าครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่าน ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและอบอวลด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่กระตุ้นเร้าให้เด็กสนใจ
อย่างไรก็ดี ยังมีพ่อแม่บางคนที่จ้องให้ลูกอ่านแต่ตำราเรียน ห้ามยุ่งเกี่ยวกับหนังสือประเภทบันเทิง นิทาน นิยาย วรรณกรรมจนเด็กเกิดความหวาดกลัวว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องไม่ควรทำซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในสิ่งรอบตัว และทำให้เด็กขาดการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และรู้จักการเปรียบเทียบหนังสือหลากหลายประเภท ไม่สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ดีด้วยตัวเองได้
นอกจากนี้บทบาทของหนังสือสามารถมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต ครอบครัวชุมชน และสังคม เช่น การหาความรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพหรือนำมาเป็นอาชีพเสริมหารายได้เพิ่มเติม หรือเติมเต็มสำหรับเด็กที่ขาดความอบอุ่น โดยให้หนังสือเป็นเพื่อนสร้างจินตนาการ คลายเครียด ใช้ลดทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบ เช่น หนังสือนิทาน
ส่งลูกไปโรงเรียนอย่างมั่นใจ
ภาพการไปโรงเรียนครั้งแรกของเด็กอนุบาล มักไม่น่ารักเท่าไหร่ ก็แหม...นี่เป็นครั้งแรกที่พวกหนู ๆ จะต้องออกเผชิญโลกภายนอกตามลำพังนี่นะ จากที่เคยอยู่ที่บ้าน มีคุณพ่อคุณแม่พี่เลี้ยงดูแล จู่ๆ จะให้ไปอยู่ที่โรงเรียนกับคนแปลกหน้าอย่างคุณครูและเพื่อน ๆ ก็ต้องใช้เวลาปรับตัวเป็นธรรมดา
แล้วจะมีวิธีไหนที่ทำให้เจ้าตัวเล็กคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนได้เร็ว ๆ ได้บ้างนะ
ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียน
วิธีแรกที่ควรทำคือการค่อยๆ อธิบายให้ลูกได้รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างพี่ๆ ที่โตแล้ว เรื่องนี้ถ้าบ้านไหนมีพี่ ๆ ที่เป็นเด็กวัยเรียนอยู่ด้วยแล้วก็ไม่ยาก เจ้าหนูจะเข้าใจได้จากภาพที่เห็นว่าพี่ ๆ ไปโรงเรียนตอนเช้า เดี๋ยวพอเย็นก็ได้กลับบ้าน การไปโรงเรียน ไม่ใช่การพรากจากแม่ตลอดไป ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแบบนั้น
แต่ถ้าไม่มีตัวอย่างให้ลูกดูชัด ๆ ขนาดนั้น ก็ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียนของตัวเอง โดยนำเอกสารของโรงเรียนต่าง ๆ มาให้ลูกดู ซึ่งในเอกสารเหล่านั้นมักมีภาพเด็กนักเรียนในอิริยาบถที่ร่าเริง แจ่มใสอยู่ ลองชี้ชวนให้ลูกดูภาพเหล่านั้น และกระตุ้นให้ลูกอยากร่วมกิจกรรมที่เห็นในภาพ ถามเขาบ่อย ๆ ว่าอยากไปที่โรงเรียนนี้มั้ย อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ แบบนี้มั้ย ลูกชอบภาพโรงเรียนไหน ไปเที่ยวโรงเรียนกันมั้ย
เสริมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน
จากนั้นบอกลูกบ่อย ๆ ว่าเขาโตแล้วต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างที่คุณแม่คุณพ่อต้องไปทำงาน มีแต่เด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องเท่านั้นที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ลูกจะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ โดยคุณแม่อาจใช้ช่วงเวลาพูดคุยเรื่องนี้ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ขณะเล่านิทาน วาดรูประบายสี ควรบอกเขาว่า เขาจะได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ อย่างนี้ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งจะสนุกกว่าการเล่นกันอยู่ที่บ้านแค่สองคนแม่ลูก
สร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้
การสร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ คุณอาจฝึกให้ลูกรู้สึกสนุกกับการไปโรงเรียน ด้วยการเล่นสมมุติเป็นครู นักเรียนฝึกอ่าน ก ไก่ ข ไข่ ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาได้มีพื้นฐานการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความอยากเข้าไปสัมผัสบรรยากาศห้องเรียนจริง ๆ ได้เป็นอย่างดี
กระตุ้นความอยากไปโรงเรียน
เด็ก ๆ จะรู้สึกอยากและรอคอยวันที่จะไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าคุณเอาของต่าง ๆ ที่เขาจะต้องใช้ไปโรงเรียนมาให้ดูบ่อย ๆ อย่างชุดนักเรียน กระเป๋าเป้ สมุด หนังสือ ดินสอสี เด็กบางคนถึงกับซ้อมจัดกระเป๋าหนังสือ หรือแต่งชุดนักเรียนได้ทุกวันเชียวค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกรบเร้าขอแต่งชุดนักเรียนเล่นอยู่กับบ้านในช่วงก่อนเปิดเทอม ก็ไม่ควรห้ามค่ะ
หนูทำได้...ไม่ต้องห่วง
ก่อนเปิดเทอมคุณแม่ควรใช้เวลาช่วงนี้ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กวัยอนุบาลไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างเต็มที่ในบางเรื่อง
ดังนั้นควรฝึกลูกให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การแต่งตัว การสวมรองเท้า การรับประทานอาหาร เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีใครคอยป้อนอาหารหรือแต่งตัวให้อย่างที่บ้าน ถ้าเขาไม่ได้รับการฝึกเรื่องเหล่านี้ไว้ พอถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ ก็จะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจ เต็มไปด้วยสิ่งที่เขาทำไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่ได้ฝึกลูกไว้แล้วล่ะก็สบายใจได้เลยค่ะว่า เขาจะไปโรงเรียนได้อย่างมั่นใจ และภูมิใจที่ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง อย่างเด็กใด ๆ
เอาของรักไปเรียนด้วย
สำหรับเด็กอนุบาลแล้ว เหตุผลหลักเลยที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนคือ ไม่อยากจากคุณแม่หรือพี่เลี้ยง เรื่องนี้คุณแม่ควรทำความเข้าใจและบอกลูกว่า หนูแค่ไปโรงเรียนในตอนเช้าเดี๋ยวบ่าย ๆ ก็ได้กลับบ้านแล้ว และเพื่อความสบายใจของเขา คุณแม่อาจให้เขานำตัวแทนคุณแม่ หรือของรักของเขา เช่น ตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ หรือแผ่นซีดีการ์ตูนเรื่องโปรด ไปโรงเรียนด้วยก็ได้ โดยตุ๊กตาจะช่วยเป็นตัวแทนของคุณแม่ หรือแผ่นซีดีที่นำติดตัวไปจะเป็นเหมือนเครื่องเตือนว่า อีกเดี๋ยวเขาก็จะได้กลับบ้านเปิดซีดีดูพร้อม ๆ กับคุณแม่แล้วล่ะ เขาไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนตลอดไปสักหน่อย
เตรียมรับความป่วน
ถึงจะเตรียมความพร้อมให้ลูกไว้ดีขนาดไหน แต่เมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ เขาก็อาจจะโยเยขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องเตรียมใจรับสถานการณ์ เอาไว้ เช่น อย่ายอมให้ลูกหยุดเรียนโดยไม่มีเหตุผล เพราะถ้ามีครั้งแรกแล้ว ย่อมมีครั้งต่อ ๆ ไม่ตามมาแน่นอน ไม่ควรแสดงท่าทีตกใจ หรือกังวลเกินเหตุเมื่อลูกบอกว่าปวดหัว หรือปวดท้อง ในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ไม่ควรไปส่งลูกด้วยด้วยตัวเอง ถ้าปกติเขาขึ้นรถโรงเรียน และอย่าเอาของขวัญ รางวัลมาล่อ ถ้าต้องการทำเช่นนั้น ควรใช้การสะสมคะแนน เช่น ถ้าเขาไปโรงเรียนทุกวัน โดยไม่ร้องงอแงครบหนึ่งสัปดาห์จึงจะได้รางวัล
คุณอาจเห็นว่าการเรียนระดับอนุบาล ไม่ใช่เรื่องซีเรียสมากนัก น่าจะยอมให้ลูกหยุดได้บ้าง แต่การฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนนั้น ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญค่ะ หากยอมตามใจให้ลูกหยุดเรียน ไปบ้างไม่ไปบ้างแล้วล่ะก็ เชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบปัญหานี้ไปเรื่อย ๆ และการแก้ไขก็จะทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย
เคล็ดลับเลือกโรงเรียนให้ลูก
ก่อนอื่นมองหาโรงเรียนใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานคุณพ่อคุณแม่เอาไว้ก่อน เพื่อความสะดวกในการรับ-ส่ง และลูกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป
จากนั้นนำข้อมูลของโรงเรียนต่าง ๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ ทั้งเรื่องมาตรฐานของโรงเรียน หลักสูตรการศึกษา กิจกรรม และค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน จากผู้ปกครองที่มีลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนที่คุณสนใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ
เข้าไปสำรวจสภาพแวดล้อมโรงเรียนด้วยตัวเอง ว่ามีความสะอาอดปลอดภัย มีอุปกรณ์การเรียนเครื่องเล่นพร้อมมากแค่ไหน ถือโอกาสนี้พูดคุยกับคุณครู ถามถึงทัศนคติของคุณครูที่มีต่อเด็ก
แล้วจะมีวิธีไหนที่ทำให้เจ้าตัวเล็กคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนได้เร็ว ๆ ได้บ้างนะ
ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียน
วิธีแรกที่ควรทำคือการค่อยๆ อธิบายให้ลูกได้รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างพี่ๆ ที่โตแล้ว เรื่องนี้ถ้าบ้านไหนมีพี่ ๆ ที่เป็นเด็กวัยเรียนอยู่ด้วยแล้วก็ไม่ยาก เจ้าหนูจะเข้าใจได้จากภาพที่เห็นว่าพี่ ๆ ไปโรงเรียนตอนเช้า เดี๋ยวพอเย็นก็ได้กลับบ้าน การไปโรงเรียน ไม่ใช่การพรากจากแม่ตลอดไป ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแบบนั้น
แต่ถ้าไม่มีตัวอย่างให้ลูกดูชัด ๆ ขนาดนั้น ก็ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเลือกโรงเรียนของตัวเอง โดยนำเอกสารของโรงเรียนต่าง ๆ มาให้ลูกดู ซึ่งในเอกสารเหล่านั้นมักมีภาพเด็กนักเรียนในอิริยาบถที่ร่าเริง แจ่มใสอยู่ ลองชี้ชวนให้ลูกดูภาพเหล่านั้น และกระตุ้นให้ลูกอยากร่วมกิจกรรมที่เห็นในภาพ ถามเขาบ่อย ๆ ว่าอยากไปที่โรงเรียนนี้มั้ย อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ แบบนี้มั้ย ลูกชอบภาพโรงเรียนไหน ไปเที่ยวโรงเรียนกันมั้ย
เสริมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน
จากนั้นบอกลูกบ่อย ๆ ว่าเขาโตแล้วต้องไปโรงเรียน เหมือนอย่างที่คุณแม่คุณพ่อต้องไปทำงาน มีแต่เด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องเท่านั้นที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ลูกจะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ โดยคุณแม่อาจใช้ช่วงเวลาพูดคุยเรื่องนี้ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ขณะเล่านิทาน วาดรูประบายสี ควรบอกเขาว่า เขาจะได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ อย่างนี้ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งจะสนุกกว่าการเล่นกันอยู่ที่บ้านแค่สองคนแม่ลูก
สร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้
การสร้างความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ คุณอาจฝึกให้ลูกรู้สึกสนุกกับการไปโรงเรียน ด้วยการเล่นสมมุติเป็นครู นักเรียนฝึกอ่าน ก ไก่ ข ไข่ ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาได้มีพื้นฐานการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความอยากเข้าไปสัมผัสบรรยากาศห้องเรียนจริง ๆ ได้เป็นอย่างดี
กระตุ้นความอยากไปโรงเรียน
เด็ก ๆ จะรู้สึกอยากและรอคอยวันที่จะไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าคุณเอาของต่าง ๆ ที่เขาจะต้องใช้ไปโรงเรียนมาให้ดูบ่อย ๆ อย่างชุดนักเรียน กระเป๋าเป้ สมุด หนังสือ ดินสอสี เด็กบางคนถึงกับซ้อมจัดกระเป๋าหนังสือ หรือแต่งชุดนักเรียนได้ทุกวันเชียวค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกรบเร้าขอแต่งชุดนักเรียนเล่นอยู่กับบ้านในช่วงก่อนเปิดเทอม ก็ไม่ควรห้ามค่ะ
หนูทำได้...ไม่ต้องห่วง
ก่อนเปิดเทอมคุณแม่ควรใช้เวลาช่วงนี้ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กวัยอนุบาลไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างเต็มที่ในบางเรื่อง
ดังนั้นควรฝึกลูกให้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การแต่งตัว การสวมรองเท้า การรับประทานอาหาร เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีใครคอยป้อนอาหารหรือแต่งตัวให้อย่างที่บ้าน ถ้าเขาไม่ได้รับการฝึกเรื่องเหล่านี้ไว้ พอถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ ก็จะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจ เต็มไปด้วยสิ่งที่เขาทำไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่ได้ฝึกลูกไว้แล้วล่ะก็สบายใจได้เลยค่ะว่า เขาจะไปโรงเรียนได้อย่างมั่นใจ และภูมิใจที่ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง อย่างเด็กใด ๆ
เอาของรักไปเรียนด้วย
สำหรับเด็กอนุบาลแล้ว เหตุผลหลักเลยที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนคือ ไม่อยากจากคุณแม่หรือพี่เลี้ยง เรื่องนี้คุณแม่ควรทำความเข้าใจและบอกลูกว่า หนูแค่ไปโรงเรียนในตอนเช้าเดี๋ยวบ่าย ๆ ก็ได้กลับบ้านแล้ว และเพื่อความสบายใจของเขา คุณแม่อาจให้เขานำตัวแทนคุณแม่ หรือของรักของเขา เช่น ตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ หรือแผ่นซีดีการ์ตูนเรื่องโปรด ไปโรงเรียนด้วยก็ได้ โดยตุ๊กตาจะช่วยเป็นตัวแทนของคุณแม่ หรือแผ่นซีดีที่นำติดตัวไปจะเป็นเหมือนเครื่องเตือนว่า อีกเดี๋ยวเขาก็จะได้กลับบ้านเปิดซีดีดูพร้อม ๆ กับคุณแม่แล้วล่ะ เขาไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนตลอดไปสักหน่อย
เตรียมรับความป่วน
ถึงจะเตรียมความพร้อมให้ลูกไว้ดีขนาดไหน แต่เมื่อถึงเวลาไปโรงเรียนจริง ๆ เขาก็อาจจะโยเยขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องเตรียมใจรับสถานการณ์ เอาไว้ เช่น อย่ายอมให้ลูกหยุดเรียนโดยไม่มีเหตุผล เพราะถ้ามีครั้งแรกแล้ว ย่อมมีครั้งต่อ ๆ ไม่ตามมาแน่นอน ไม่ควรแสดงท่าทีตกใจ หรือกังวลเกินเหตุเมื่อลูกบอกว่าปวดหัว หรือปวดท้อง ในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ไม่ควรไปส่งลูกด้วยด้วยตัวเอง ถ้าปกติเขาขึ้นรถโรงเรียน และอย่าเอาของขวัญ รางวัลมาล่อ ถ้าต้องการทำเช่นนั้น ควรใช้การสะสมคะแนน เช่น ถ้าเขาไปโรงเรียนทุกวัน โดยไม่ร้องงอแงครบหนึ่งสัปดาห์จึงจะได้รางวัล
คุณอาจเห็นว่าการเรียนระดับอนุบาล ไม่ใช่เรื่องซีเรียสมากนัก น่าจะยอมให้ลูกหยุดได้บ้าง แต่การฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนนั้น ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญค่ะ หากยอมตามใจให้ลูกหยุดเรียน ไปบ้างไม่ไปบ้างแล้วล่ะก็ เชื่อได้เลยว่าคุณจะต้องพบปัญหานี้ไปเรื่อย ๆ และการแก้ไขก็จะทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย
เคล็ดลับเลือกโรงเรียนให้ลูก
ก่อนอื่นมองหาโรงเรียนใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานคุณพ่อคุณแม่เอาไว้ก่อน เพื่อความสะดวกในการรับ-ส่ง และลูกจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป
จากนั้นนำข้อมูลของโรงเรียนต่าง ๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ ทั้งเรื่องมาตรฐานของโรงเรียน หลักสูตรการศึกษา กิจกรรม และค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน จากผู้ปกครองที่มีลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนที่คุณสนใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนนั้น ๆ
เข้าไปสำรวจสภาพแวดล้อมโรงเรียนด้วยตัวเอง ว่ามีความสะอาอดปลอดภัย มีอุปกรณ์การเรียนเครื่องเล่นพร้อมมากแค่ไหน ถือโอกาสนี้พูดคุยกับคุณครู ถามถึงทัศนคติของคุณครูที่มีต่อเด็ก
เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง เลียนแบบการใช้คำ ซึ่งนำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้ อายุ 2 ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง อายุ 3 ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์ ยานพาหนะ เครื่องใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์ รถไฟ อายุ 4 ขวบ ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้ อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
ผลของเด็กที่เกิดจากการดูทีวี
ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า หากให้เด็กอายุ 3 ขวบดูโทรทัศน์มากเท่าไรอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นคนก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดู
เจน นิเฟอร์ แมนกาเนลโล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่อัลบานีร่วมกับคณะสาธารณสุขและเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยทูเลน ศึกษากับสตรี 3,128 คน ใน 20 เมืองที่มีลูกช่วงปี 2541-2543 ระดับการศึกษาหลากหลายแต่ 1 ใน 3 เรียนไม่จบระดับมัธยมศึกษา สตรี 2 ใน 3 เผยว่าให้ลูกวัย 3 ขวบดูโทรทัศน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3 ชั่วโมง สตรีส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง และเมื่อนำปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง มีมารดาเป็นโรคซึมเศร้า มาคำนวณร่วมด้วยพบว่า การดูโทรทัศน์และจำนวนชั่วโมงที่เปิดโทรทัศน์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชอบตีคนอื่น อารมณ์ร้าย ไม่เชื่อฟัง กรีดร้องบ่อย ๆ
คณะ นักวิจัยระบุว่า เด็กอาจเห็นภาพความรุนแรงจากโทรทัศน์ และการใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอมากเท่าไรเท่ากับว่าเด็กมีเวลาทำกิจกรรมสร้าง สรรค์เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นน้อยลงเท่านั้น จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาของรายการโทรทัศน์และสิ่งที่ เกิดขึ้นภายในบ้านในช่วงที่เปิดโทรทัศน์ พร้อมกับหยิบยกคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชอเมริกันไว้ในรายงานด้วยว่าไม่ ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์เลย ส่วนเด็กที่โตกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์เกินวันละ 2 ชั่วโมง
พับลิชเชอส์วีคลี รายงานผลวิจัยเรื่องการอ่านของเด็กและครอบครัว (อ่านฉบับ pdf) โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักพิมพ์สกอแลสติค สำรวจการอ่านเพื่อความบันเทิงของเด็กอเมริกันวัย 5-17 ปี พบว่าเด็กร้อยละ 92 สนุกกับการอ่านหนังสือเพื่อความบันเทิง (นั่นคือไม่นับพวกหนังสือเรียน) แต่เด็กจะอ่านน้อยลงมากเมื่ออายุเกิน 8 ปี และยิ่งอายุมากขึ้นสู่วัยรุ่นเท่าใด ก็ยิ่งอ่านน้อยลงเท่านั้น
โดยรวมแล้วเด็กร้อยละ 30 อ่านหนังสือเป็นประจำ เด็กวัย 5-8 ปีร้อยละ 44 อ่านหนังสือเป็นประจำ แต่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-17 ปีนั้น มีเพียงร้อยละ 16 ที่อ่านหนังสือเป็นประจำ ส่วนร้อยละ 46 อ่านนานๆ ครั้ง (เป็นประจำคืออ่านทุกวัน นานๆ ครั้งคืออ่านเดือนละไม่เกิน 2-3 ครั้ง)
ผลการศึกษาพบว่าที่อัตราการอ่านลดลงมากเมื่อวัยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ปกครองไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดี มีพ่อแม่เพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่อ่านหนังสือเป็นประจำ
ลูกของพ่อแม่ที่อ่านหนังสือเป็นประจำจะชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ (คิดเป็นร้อยละ 53) เมื่อเทียบกับลูกของพ่อแม่ที่อ่านนานๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่จะอ่านหนังสือเป็นประจำ
สำนักพิมพ์แนะนำว่าถึงพ่อแม่จะไม่ค่อยอ่านหนังสือ ก็ควรสนับสนุนให้ลูกรักการอ่านโดยอ่านหนังสือให้ลูกฟัง อย่าเพิ่งหยุดอ่านเมื่อลูกอายุแปดปี เมื่อเด็กโตขึ้นและอ่านได้เองเพิ่มขึ้น พ่อแม่ยิ่งต้องช่วยแนะนำหนังสือให้ลูกอ่าน
เด็กที่อ่านหนังสือเป็นประจำบอกว่าพ่อแม่เป็นผู้แนะนำหนังสือให้อ่านมากเป็นอันดับสอง รองจากบรรณารักษ์และห้องสมุดเท่านั้น (ตามมาด้วยเพื่อน ครู และร้านหนังสือ) ในขณะที่เด็กอ่านหนังสือนานๆ ครั้งบอกว่าได้แนวทางการอ่านมาจากครู เพื่อน บรรณารักษ์ ทีวี และพ่อแม่ ตามลำดับ
การแนะนำหนังสือมีความสำคัญยิ่งต่อการอ่าน เหตุผลข้อหลักที่ทำให้เด็กไม่อ่านหนังสืออีกต่อไป เนื่องมาจากเด็กไม่เจอหนังสือที่ตัวเองชอบ บริษัทผู้สำรวจข้อมูลตั้งข้อสังเกตว่า "พ่อแม่อาจนึกไม่ถึงว่าการที่เด็กๆ จะหาหนังสือที่ตัวเองชอบได้นั้น เป็นเรื่องยากแค่ไหน" เหตุผลข้อรองๆ ลงมาที่ทำให้เด็กไม่อ่านหนังสือคือ มีอย่างอื่นที่อยากทำมากกว่า, มีการบ้านเยอะ, ไม่มีเวลาอ่าน, เหนื่อยเกินไปที่จะอ่าน
ส่วนพ่อแม่นั้นมักเข้าใจว่าเหตุผลข้อหลักที่ลูกไม่อ่านหนังสืออ่านเล่นเป็นเพราะมีการบ้านเยอะ
การศึกษานี้ยังพบว่าเด็กร้อยละ 41 ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการอ่าน โดยแบ่งเป็นอ่านจากคอมพิวเตอร์ 23% จากไอพ็อด 5% เครื่องเล่น MP3 อื่นๆ 2% พีดีเอ (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล) 1% ที่เหลือเป็นอื่นๆ ผลการสำรวจพบว่าเด็กที่อ่านหนังสือโดยใช้เทคโนโลยีมักอยู่ในกลุ่มคนอ่านหนังสือเป็นประจำ (ซึ่งผลสำรวจบอกว่าอาจเป็นเพราะเด็กกลุ่มนี้มีพ่อแม่ที่ผลักดันเรื่องการอ่านมากกว่า)
เร็วๆ นี้ การ์เดียน รายงานผลสำรวจจากสกอแลสติกบุ๊คคลับและบุ๊คแฟร์ ว่าพ่อแม่สมัยนี้เลิกอ่านหนังสือก่อนนอนให้ลูกฟังเร็วขึ้น มีเด็กวัย 12 ปีเพียงร้อยละ 3 ที่บอกว่าพ่อแม่ยังอ่านหนังสือให้ฟังทุกคืนก่อนนอน สำหรับเด็กวัย 7-12 นั้นมีร้อยละ 10 ที่บอกว่าพ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังทุกคืน ครั้นเมื่อไปถามพ่อแม่เด็กวัย 7-12 กลุ่มเดียวกับที่สำรวจ พ่อแม่มากกว่าหนึ่งในสามบอกว่าตัวเองอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน แสดงว่าพ่อแม่มองโลกแง่ดีกว่าที่เป็นจริง (หรือลูกมองโลกแง่ร้ายเกิน?)
เราเริ่มอ่านหนังสือให้เด็กฟังได้ตั้งแต่เขายังเล็กมากๆ ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการของอเมริกาบอกว่าตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี เด็กสามารถเลียนเสียงที่ได้ยิน เริ่มเชื่อมโยงเสียงคำที่ได้ยินกับความหมายของคำ เด็กจำหนังสือจากหน้าปกได้แล้ว ทำท่าทำทางเหมือนกำลังอ่านหนังสือได้ เข้าใจว่าควรถือหนังสืออย่างไร สามารถระบุสิ่งของในหนังสือได้ พูดชื่อตัวละครในหนังสือได้ ดูรูปในหนังสือแล้วรู้ว่าเป็นภาพแทนของที่มีในโลกจริง เด็กฟังเรื่องราวได้ ขอให้ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังได้ เริ่มเขียนเส้นและวาดรูป โลกของเด็กช่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังได้ตั้งแต่เด็กยังแบเบาะ ตั้งแต่ก่อนเด็กจะพูดได้ ให้เด็กได้เห็นและจับต้องหนังสือ
เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีพัฒนาการมากขึ้นตามวัย เด็กเล็กๆ ชอบให้คนอ่านหนังสือให้ฟัง ไม่เบื่อเรื่องซ้ำ ชอบภาษาที่มีสัมผัส พ่อแม่อาจหาข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้จากอินเทอร์เน็ต เช่นเว็บ Reading is Fundamental
No comments:
Post a Comment